วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression System)


หลักการทำความเย็นเป็นกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หนึ่ง ซึ่งต้องการทำความเย็นโดยความร้อนจะถูกส่งผ่านน้ำยาจากนั้นน้ำยาจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศภายนอกพื้นที่น้ำยาจะเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยกระบวนการอัดน้ำยาให้เป็นไอ กระบวนการควบแน่นกระบวนการขยายตัวและกระบวนการระเหย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดตามส่วนต่าง ๆ ของระบบ เช่น ที่คอมเพรสเซอร์ ที่คอนเดนเซอร์ที่อุปกรณ์ควบคุมการไหล เป็นต้นดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำความเย็นใน ที่นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ระบบทำความเย็นได้ถูกต้อง และสามารถซ่อมบำรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การทำความเย็น (Refrigeration) คือกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หรือ วัตถุที่ต้องการทำความเย็น หรือเป็นกระบวนการลดอุณหภูมิ และรักษาอุณหภูมิของพื้นที่หรือวัตถุ ที่ต้องการทำ ความเย็นให้ต่ำ กว่าอุณหภูมิรอบๆ
ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression System)
ระบบทำความเย็นและ ปรับอากาศที่ใช้ในปัจจุบันอาศัยการทำงานแบบอัดไอน้ำยาทำความเย็นด้วยคอมเพรสเซอร์เพื่อนำน้ำยาที่ทำความเย็นแล้วกลับมาใช้อีก น้ำยาทำความเย็นจะไหลเวียนภายในระบบปิดอยู่ตลอดเวลา ในระบบทำความเย็นแบบอัดไอ  ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลัก คือ คอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ และอุปกรณ์ควบคุมการไหล ซึ่งอุปกรณ์แต่ละส่วนมีหน้าที่ดังนี้
คอยล์เย็น (Evaporator) ทา หน้าที่ดูดความร้อนจากพื้นที่ หรือวัตถุที่ต้องการทำความ เย็น ไปใช้ในการเดือดกลายเป็นไอของน้ำยา
คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ ดูดน้ำยาให้ไหลเวียนภายในระบบพร้อมกับอัดไอน้ำยาที่มีความดันต่ำ ให้เป็นไอน้ำยาที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง
คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับไอน้ำยาที่มี อุณหภูมิสูง ออกสู่อากาศภายนอกระบบ เมื่อไอน้ำยาได้รับการระบายความร้อนจะเกิดการควบแน่นเป็นน้ำยาเหลว
อุปกรณ์ควบคุมการไหล (Expansion Valve) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาที่ไหลเข้าคอยล์เย็น


อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น
วัฎจักรของการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) ในระบบทำความเย็นแบบอัดไอน้ำยาทำความเย็นจะไหลเวียนผ่านส่วนต่าง ๆ ของระบบอยู่ตลอดเวลา ในแต่ละรอบน้ำยาจะต้องผ่าน กระบวนการต่อไปนี้ คือ
การขยายตัว (Expansion) เกิดที่อุปกรณ์ควบคุมการไหล
การกลายเป็นไอ (Vaporization) เกิดที่คอยล์เย็น
การอัดไอ (Compression) เกิดที่คอมเพรสเซอร์
การควบแน่น (Condensation) เกิดที่คอนเดนเซอร์
การทำงานของระบบทำความเย็น
ระบบทำความเย็นจะทำความเย็นได้ น้ำยาภายในระบบจะต้องไหลเวียนอุปกรณ์ที่ทำให้ น้ำยาไหลเวียนในระบบคือ คอมเพรสเซอร์ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องสูบที่สูบน้ำยาให้ไหลเวียนอยู่ ตลอดที่ระบบทำงาน
 น้ำยาที่ไหลเข้าอุปกรณ์ควบคุมการไหล จะอยู่ในสถานะของเหลวที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูงอุปกรณ์ควบคุมการไหลจะลดความดันของน้ำยาลง ทำให้จุดเดือดของน้ำยาลดต่ำลง น้ำยาที่ออกจากอุปกรณ์ควบคุมการไหล จะไหลเข้าคอยล์เย็นเป็นละอองน้ำยา โดยน้ำยาจะมีจุดเดือดต่ำกว่าอุณหภูมิของวัตถุที่แช่อยู่ในห้องทำความเย็น ทำให้เกิดการถ่ายเทความ ร้อนจากวัตถุที่แช่ไปให้น้ำยา ๆ เกิดการเดือดกลายเป็นไอโดยที่อุณหภูมิและความดันของน้า ยาคงที่ ความร้อนที่ใช้ในการเดือดกลายเป็นไอคือ ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ
น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นจะอยู่ในสถานะไอที่ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำจะถูกส่งผ่านทางท่อดูด เข้าคอมเพรสเซอร์ขณะที่ผ่านท่อดูดไอของน้ำยาจะได้รับความร้อนจากอากาศ รอบ ๆ ทา ให้ไอน้ำยามีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ความดันยังคงที่ ความร้อนช่วงนี้คือความร้อนยิ่งยวด
น้ายาที่เข้าคอมเพรสเซอร์จะอยู่ในสถานะไอที่ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ จากนั้น คอมเพรสเซอร์จะอัดไอน้ำยาให้มีปริมาตรลดลง ทำให้ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้นโดยอุณหภูมิของ ไอจะสูงกว่าอุณหภูมิไออิ่มตัว
ไอน้ำที่ออกจากคอมเพรสเซอร์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศรอบๆทำให้เกิดการระบาย ความร้อนให้กับอากาศขณะถูกส่งผ่านท่อจ่ายไปยังคอนเดนเซอร์ทำให้อุณหภูมิของไอน้ำยาลดลง เท่ากับอุณหภูมิไอน้ำอิ่มตัวแต่ยังคงสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบคอนเดนเซอร์
                ไอน้ำที่เข้าคอนเดนเซอร์จะมีความดันสูงอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิอิ่มตัวแต่สูงกว่า อุณหภูมิของอากาศรอบ ๆ คอนเดนเซอร์ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อน จากไอน้ำให้กับอากาศ รอบ ๆ คอนเดนเซอร์ ผ่านพื้นผิวคอนเดนเซอร์ ไอน้ำเกิดการควบแน่นเป็นของเหลว โดยที่ความดันและอุณหภูมิยังคงที่ ความร้อนที่ถ่ายเทให้กับอากาศคือ ความร้อนแฝงของการควบแน่น
น้ำยาที่ออกจากคอนเดนเซอร์ จะอยู่ในสถานะของเหลวอุณหภูมิสูง, ความดันสูงจะ ไหลเข้าถังรับน้ำยา ภายในถังรับน้ำยาจะประกอบด้วยน้ำยาที่อยู่ในสถานะของเหลวกับน้ำยาที่อยู่ใน สถานะไอซึ่งยังไม่ควบแน่นลอยอยู่ด้านบน
 น้ำยาเหลวจะถูกปล่อยออกจากถังรับน้ำยาส่งผ่านทางท่อของเหลวเข้าอุปกรณ์ ควบคุมการไหล ระหว่างทางน้ำยาซึ่งเป็นของเหลวอิ่มตัวจะมีอุณหภูมิอิ่มตัวสูงกว่าอากาศรอบ ๆ ท่อ ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนจากน้ำยาไปยังอากาศทำให้อุณหภูมิของน้ำยาลดลงต่ำกว่าอุณหภูมิ อิ่มตัว ซึ่งกระบวนการนี้คือการซับคูลล์ และเรียกของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำ กว่าอุณหภูมิอิ่มตัวว่า ของเหลวซับคูลล์  ต่อจากนี้การไหลเวียนของน้ำ ยาทำความเย็นก็จะเริ่มรอบใหม่ซึ่งจะ ผ่านกระบวนการขยายตัวกระบวนการเดือดเป็นไอ กระบวนการอัดไอและกระบวนการควบแน่น กลับเป็นของเหลวตามเดิมโดยจะหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาของการทำงาน
ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression System) แบ่งเป็น ประเภท คือ

1.       ระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage)
ระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage) เหมาะสำหรับห้องอุณหภูมิ ตั้งแต่ -25 C ขึ้นไป หรือใช้ทำน้ำเย็น คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ เช่น Bitzer รุ่น4G.2, 6G.2, 6F.2  เป็นต้น

หลักการทำงาน
                เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน จะดูดไอน้ำยามาทางท่อทางดูดจากคอยล์เย็น และอัดไอน้ำยาออกทางท่อส่งผ่านหม้อดักน้ำมัน (Oil Separator) เข้าสู่คอนเดนเซอร์ หม้อดักน้ำมัน จะแยกน้ำมันออกจากไอน้ำยา แล้วส่งน้ำมันกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ เพื่อใช้หล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ ส่วนของน้ำมันที่ดักไว้ไม่หมดจะไปกับน้ำยา และค้างตามท่อ น้ำยาจะเป็นตัวพาน้ำมันส่วนนี้ไหลกลับคืนเข้าคอมเพรสเซอร์ต่อไป
ไอน้ำยาร้อนจะถูกอัดเข้าคอนเดนเซอร์ และถูกน้ำทะเลระบายความร้อนออก จนกลายเป็นน้ำยาเหลว และไหลผ่านไส้กรองเพื่อดูดความชื้นและกรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำยาและน้ำมันเครื่อง น้ำยาจะถูกดันไปที่วาล์วเอ็กแปนชั่น (Expansion Valve) ซึ่งจะมีรูเล็กๆ ที่ปรับขนาดได้ คอยปล่อยให้น้ำยาผ่านเข้าไประเหยในคอยล์เย็น (Evaporator) ในปริมาณที่พอเหมาะที่จะระเหยได้หมดพอดี ก่อนที่จะถูกดูดผ่าน Accumulator  แล้วดูดเข้าคอมเพรสเซอร์ แล้วอัดออกต่อไป

1.       ระบบอัดน้ำยา ชั้น (Two Stage)


ระบบอัดน้ำยา ชั้น (Two Stage) เหมาะสำหรับใช้งานห้องที่เย็นจัด (ฟรีส) อุณหภูมิตั้งแต่ -25 C ลงไป  คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ เช่น Bitzer รุ่นS6G.2, S6F.2  เป็นต้น



หลักการทำงาน
                ทำงานเช่นเดียวกับระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage)แต่เนื่องจากคอมเพรสเซอร์เริ่มอัดน้ำยาตั้งแต่ความดันต่ำ ทำให้การอัดเพียงครั้งเดียวได้ความดันไม่ถึง ทำให้น้ำยาไม่ร้อน และไม่มีแรงดันพอที่จะทำให้ไอร้อนน้ำยากลั่นตัวกลับมาเป็นของเหลว มาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง จึงต้องมีการอัดน้ำยาครั้งที่ 2 (Stage 2ndเพื่อที่จะให้น้ำยาเหลวกลั่นตัวกลับมาใช้ใหม่ที่คอนเดนเซอร์ แต่เนื่องจากความดันเริ่มต้นของการอัดครั้งที่สองอาจสูงเกินไป และร้อนเกินไป จะเป็นอันตรายต่อคอมเพรสเซอร์ จึงจำเป็นต้องมี Expansion Valve ฉีดน้ำยาเข้ามาผสมกับไอน้ำยาที่อัดจาก Stage 1st  เพื่อไม่ให้ไอน้ำยาก่อนอัด Stage 2nd ร้อนจัดหรือแห้งเกินไป ขณะเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเหลวที่ฉีดเข้ามา มีสภาพของเหลวปนอยู่ จึงใช้ Plate Heat Exchanger เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำยาเหลวที่จะจ่ายให้ Expansion Valve ที่คอยล์เย็น ทำให้น้ำยาที่จ่ายไปคอยล์เย็นมีอุณหภูมิลดลง (Sub Cool) ทำให้ทำความเย็นได้มากขึ้นด้วย

ชนิดของสารทำความเย็น


สารทำ ความเย็น (Refrigerants)

สารทำ ความเย็นที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทุกวันนี้มีอยู่ 3 ประเภท

R-12 Dichloridefluoromethane (CC12 F2)
ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเธน Dichloridefluoromethane มีคุณสมบัติ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่นที่ความเข้มข้น
ตํ่ากว่า 20 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ในความเข้มข้นที่มากขึ้น จะมีกลิ่นคล้ายกับ Carbon Tetrachloride นอกจาก
นี้ยังไม่เป็นพิษไม่กัดกร่อน ไม่ติดไฟ และมีจุดเดือดที่ –21.7 OF (-29 OC) ที่ความดันบรรยากาศ
รหัสสีของ R-12 คือ สีขาว
R-22 Monochlorodifluoromethane ( CHCIF2)
โมโนคลอโรไดฟลูออโรมีเธน Monochlorodifluoromethane คือ สารทำ ความเย็นสังเคราะห์ที่ถูก
พัฒนาขึ้นสำ หรรับระบบทำ ความเย็นที่ต้องการ Evaporating Temperature ตํ่าๆ โดยสามารถใช้กับตู้เย็นภาย
ในครัวเรือนและระบบปรับอากาศ R-22 มีคุณสมบัติไม่เป็นพิษไม่กัดกร่อนไม่ติดไฟ และมีจุดเดือดเท่ากับ –41
OF ที่ความดันบรรยากาศ
R-22 สามารถใช้ได้กับคอมเพรสเซอร์ชนิด โรตารี่ ลูกสูบ ก้นหอย สกรู หรือชนิดหอยโข่ง โดยR-22 นั้น
มักจะมีนํ้าหรือความชื้นผสมอยู่ด้วย จำ นวนหนึ่งดังนั้นจึงจำ เป็นต้องใช้ Filter drier ในระบบเพื่อขจัดนํ้าออกจาก
สารทำ ความเย็น
รหัสสีของ R-22 คือสีเขียว
R-502 Refrigerant (CHCIF2/CCIF2CF3)
R-502 คือ สารผสมระหว่าง R-22 และ R-115 ในสัดส่วน 48.8 : 51.2 สารทำ ความเย็นชนิดนี้เป็นสาร
ทำ ความเย็นผสม (Blend) ซึ่งมีจุดเดือดที่คงที่สูงสุดและจุดเดือดที่คงที่ตํ่าสุด แต่จะแสดงพฤติกรรมเป็นสารผสม
เนื้อเดียว โดยที่ R-502 มีคุณสมบัติไม่กัดกร่อนไม่ติดไฟไม่เป็นพิษในการใช้งาน และมีจุดเดือดเท่ากับ -50 OF
ที่ความดันบรรยากาศ สารทำ ความเย็นชนิดนี้สามารถใช้ได้กับคอมเพรสเซอร์ชนิดลูกสูบเท่านั้น โดยส่วนใหญ่
แล้วจะนำ ไปใช้กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการแช่แข็งอาหาร เช่น ตู้แช่แบบ walk-in, โรงงานแช่แข็ง และแปรรูปอาหาร
ทะเล
รหัสสีสำ หรรับ R-502 คือสีม่วงอ่อน
R-134a Tetrafluoroethane (CH2FCF3) เตตระฟลูอโรอีเธน
R-134a มีความคล้ายคลังกับ R-22 มากแต่จะแตกต่างกันที่ R-134a ไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนจึง
สามารถใช้แทน R-22 ได้ มีคุณสมบัติคือ ไม่กัดกร่อน ไม่ติดไฟ และไม่เป็นพิษ มีจุดเดือดเท่ากับ -15 OF ที่ความ
ดันบรรยากาศ โดยทั่วไปจะใช้ในระบบทำ ความเย็นที่มีอุณหภูมิปานกลาง หรือระบบปรับอากาศ เช่น ระบบปรับ
อากาศในอาคาร รถยนต์ หรือตู้เย็น
รหัสสีสำ หรับ R-143a คือสีฟ้าอ่อน
R-717 Ammonia (NH3) แอมโมเนีย
R-717 เป็นสารทำ ความเย็นที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรม มีจุดเดือดเท่ากับ -28 OF ที่ความดัน
บรรยากาศด้วยคุณสมบัตินี้ทำ ให้ R-717 มักถูกนำ ไปใช้กันมากในระบบทำ ความเย็นที่ต้องการอุณหภูมิตํ่ากว่า 0
โดยที่ความดันใน evaporator ไม่ต้องตํ่ากว่าความดันบรรยากาศ คุณสมบัติโดยทั่วไปของ R-717 คือ เป็น
ก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน มีความเป็นพิษทำ ลายระบบประสาท หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจะทำ ให้เกิดแผลไหม้
และมีความสามารถในการติดไฟได้เล็กน้อย
รหัสสีสำ หรับ R-717 คือสีเงิน
R-125 Pentafluoroethane (CHCF5) เพนตะฟลูออโรอีเธน
R-125 คือสารผสมที่ถูกใช้ในอุณหภูมิตํ่าและอุณหภูมิปานกลาง ซึ่งมีจุดเดือดเท่ากับ –55.3 OF ที่ความ
ดันบรรยากาศ คุณสมบัติของ R-125 คือไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ และไม่กัดกร่อน นอกจากนี้ R-125 สามารถนำ ไป
ใช้แทน R-502 ได้อีกด้วย
สารทำ ความเย็นทั้งหมดที่กล่าวมาต่างมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากใน การเลือกใช้ให้ตรงกับ
ความต้องการหากมีการใช้งานผิดประเภท แล้วสามารถทำ ให้ประสิทธิภาพของระบบลดลงได้ หรืออาจเกิด
ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ_

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
 
เครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) ของบ้านพักอาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 ส่วน ดังนี้
1. แผงท่อทำความเย็น        (Cooling Coil)
2. คอมเพรสเซอร์               (Compressor)
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser Coil)
4. พัดลมส่งลมเย็น            (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน   (Condenser Fan)
6. แผ่นกรองอากาศ 
( แอร์ )              (Air Filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้องตั้งความเร็วของพัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) เอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการควบคุมระยะไกล (Remote Control)  จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ ( แอร์ )
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device) 

2. หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
               วัฎจักรการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  สารทำความเย็น ซึ่งเป็นของเหลว (ไม่มีสี กลิ่นและรสในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศ ( แอร์ ) ร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ( แอร์ )  ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป  จากนั้นอากาศ ( แอร์ ) ร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจากอากาศ ( แอร์ ) ภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ( แอร์ )  ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักร      เช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25  C  
เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบแยกส่วน (Split Type) ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ 

                1.)  ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ 
( แอร์ )  หน้ากากพร้อมเกล็ด     กระจายลมเย็น
                2.)  อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น  เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านในเมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนเครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ประหยัดพลังงาน
-          ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ในแต่ละรุ่น      
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง
-          เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชมควรเลือกซื้อเครื่องที่ ติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพหมายเลข 5
-          เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตัน
-          ความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย
-          มีคู่มือการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
-          เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน  และพื้นที่ใช้สอย
-          เลือกเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป โดยขนาดความสูงของห้องปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้         พื้นที่     13-15   ตร..    ควรใช้ขนาด         8,000  บีทียู         พื้นที่     16-17   ตร..    ควรใช้ขนาด       10,000  บีทียู         พื้นที่          20   ตร..    ควรใช้ขนาด       12,000   บีทียู         พื้นที่     23-24   ตร..    ควรใช้ขนาด       14,000  บีทียู         พื้นที่          30   ตร..    ควรใช้ขนาด       18,000   บีทียู         พื้นที่          40   ตร..    ควรใช้ขนาด       24,000   บีทียู
-           หรือเลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่าง ๆ  ของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้
-          ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่งประมาณ 23 ตร../ตันความเย็น

การใช้เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ให้มีการประหยัดพลังงาน

-          ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
-          ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด 

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

                การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้วยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
                1.ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
 
                2.หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศ 
( แอร์ ) ภายนอกตามเส้นท่อ
 
                3.ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่าง)ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศ ( แอร์ ) ภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
 
               4.ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

               5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างให้อากาศ ( แอร์ ) ร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก
 
               6.ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง
ลักษณะอาการต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ รายละเอียดและวิธีการแก้ไข
                -               คอล์ยร้อนเสียงดัง     เสียงที่ดังมาจากคอย์ลร้อนนั้นอาจเกิดได้จากหลายกรณีเช่น โครงแอร์เสียงดัง พัดลมคอย์ล
ร้อนแตก ลูกปืนมอเตอร์เสีย ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้เรามีวิธีสังเกตและวิธีการแก้ไขดังนี้ 
1.             โครงแอร์เสียงดัง  จะมีอาการสั่นของโครงแอร์เนื่องมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพราะถ้าคอมเพรสเซอร์มีอายุ       การใช้งานที่นานมากก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่นิ่งจึงทำให้เกิดการสั่นของโครงแอร์ได้ หรืออีกกรณีที่เป็นแอร์                 เก่าก็อาจเสียงดังได้เนื่องมาจากการขันสกรูไม่แน่นเวลาแอร์ทำงานจึงให้เกิดเสียงดังได้                                              
วิธีการแก้ไข  ถ้าแอร์สียงดังอันเกิดมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ใหเราเปลี่ยนลูกยางรองฐานคอมเพรสเซอร์ใหม่ ถ้าเกิดจากการที่ขันสกรูไม่แน่นก็ให้ทำการขันสกรูใหม่ให้แน่น
2.             พัดลมคอย์ลร้อนแตก จะมีเสียงดังมากสาเหตมาจากการเสื่อมสภาพของใบพัดคอย์ลร้อนเพราะใบพัดคอย์ลร้อนนั้นจะเป็นพลาสติก หรือ อลูมิเนียม เมื่อเราใช้ไปนานๆ ก็จะทำให้ใบพัดนี้กรอบและจะแตกในที่สุดหรืออีกกรณีก็เกิดมาจากการแกว่งของมอเตอร์คอย์ลร้อนจึงทำให้ใบพัดหมุนไปโดนกับโครงแอร์ก็จะทำให้ใบพัดนั้นแตกได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไข  ถ้าพัดลมคอย์ลร้อนแตกเนื่องมาจากการฉีกขาดของใบพัดก็ให้เราทำการปิดแอร์ทันทีเพื่อทำการเปลี่ยนใบพัดใหม่
3.        ลูกปืนมอเตอร์เสีย   จะมีเสียงดังไม่มากนักแต่ถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ จะทำให้พัดลมคอย์ลร้อนแตกได้สาเหตเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานเพราะลูกปืนนั้นต้องหมุนตลอดเวลาและร้อนจึงทำให้ลูกปืนนั้นเสื่อมสภาพได้เร็วหรืออีกกรณีคือ จารบีที่ใส่ไว้ไม่เกิดการแห้งหรือไม่หล่อลื่นดังนั้นเวลาหมุนจึงทำให้เกิดเสียงดัง
วิธีการแก้ไข  ให้ทำการถอดโครงแอร์ออกเพื่อทำการเปลี่ยนลูกปืนใหม่แต่กรณีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรเพราะต้องถอดอุปกรณ์หลายชิ้น
-               แอร์ไม่เย็น   สาเหตุของแอร์ที่ไม่เย็นนั้นเกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาขาด น้ำยาเกิน คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
พัดลมคอย์ล ร้อนไม่ทำงาน เทอร์มอมิเตอร์เสีย
1.        น้ำยาขาด   ให้เราสังเกตบริเวณท่อทองแดงที่ออกมาจากคอย์ลร้อนจะมีน้ำแข็งเกาะอยู่นั้นเป็นอาการเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาในระบบมีหลายกรณีที่รั่วคือ รั่วที่คอย์ลร้อน รั่วที่ท่อส่งน้ำยา รั่วที่วาวล์ หรือรั่วที่คอย์ลเย็น หากเกิดกรณีเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมายหลายกรณี หากนานเกินไปอาจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
วิธีการแก้ไข  ให้เราหมั่นสังเกตว่าแอร์เราเย็นตามปรกติหรือไม่ถ้าไม่เย็นเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาก็ให้ทำการซ่อมรั่วโดยเร่งด่วน โดยปรกติเราควรมีการเช็คแอร์ประจำปีบ้าง
2.        คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน  เกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาในระบบขาดเนื่องมาจากเกิดการรั่วของระบบจึง  ทำให้(Low presser) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย หรือคอมเพรสเซอร์ร้อนจนเกินไปจึงทำให้ (Over load) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหายเช่นกันแต่ถ้าแอร์ตัวดังกล่าวไม่มีระบบป้องกันคอมเพรสเซอร์ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ และในกรณีที่เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวดในคอมเพรสเซอร์เนื่องมาจากน้ำยาในระบบขาดถึงขั้นวิกฤติ อีกกรณีคือน้ำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งกรณีนี้ต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์อย่างดียว
      วิธีการแก้ไข  หากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานในกรณีที่ตัวป้องกันคอมเพรสเซอร์ตัดก็ให้ทำการซ่อมรั่วให้เรียบร้อยก่อนการเปิดใช้แอร์ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เกิดจากการช๊อตของขดลวดหรือนำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งให้ทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่
3.        พัดลมคอย์ลร้อนไม่ทำงาน เกิดมาจากหลายกรณีเช่น เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวด หรือตัวเก็บประจุเสียจะมีอาการคือมอเตอร์จะหมุนช้าหรือไม่หมุนเลย
วิธีการแก้ไข  หากเกิดจาการช๊อตกันของขดลวดในระบบให้ทำการเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่ ถ้าเกิดมาจากตัวเก็บเสียก็ให้ทำการเปลี่ยนตัวเก็บประจุตัวใหม่
4.        เทอร์มอมิเตอร์เสีย  เนื่องมาจากตัวเทอร์มอมิเตอร์นั้นทำมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จึงมีอายุการใช้งานได้ไม่นานเหมือนสวิตซ์ธรรมดา และเทอร์มอมิเตอร์บางรุ่นก็สามารถที่จะเปลี่ยนจากอุณหภูมิที่เป็นองศาเซลเซียสมาเป็นองศาฟาเรนไฮร์โดยอัตโนมัติ หรือบางทีลายแผ่นปริ๊นต์สกปรกหรือขาด จึงทำให้ไม่สามารถกดเทอร์มอมิเตอร์เพื่อสั่งให้แอร์ทำงงานได้
วิธีการแก้ไข   ก่อนทำการใช้เทอร์มอมิเตอร์ควรอ่านคู่มือการใช้ให้เข้าใจเสียก่อน และถ้าเกิดมาจากการเสียของเทอร์มอ -มิเตอร์ก็ให้ทำการส่งกลับศูนย์ซ่อม